มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สหายแห่งธรรม
แม้พญาช้างจะมีอุปสรรคคือไม่ได้กายมนุษย์ แต่ด้วยดวงใจที่เต็มเปี่ยมด้วยพลังศรัทธา จึงสามารถทำกิจทุกอย่าง คอยอุปัฏฐากพระพุทธองค์โดยมิได้ขาดตกบกพร่องเลย พญาช้าง ได้ใช้งวงจับหม้อไปตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้ เวลากลางวันก็เอางวง หักกิ่งไม้มากวาดบริเวณที่พัก เพื่อให้พระบรมศาดาได้ใช้เป็นที่เสด็จเดินจงกรม
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ต้องถนอมมิตรแท้
ราชสีห์ไม่สามารถยั้งความเร็วไว้ได้ จึงตกลงไปในเปือกตม เท้าทั้งสี่ขยับเขยื้อนไม่ได้เลย จึงต้องยืนปักเท้าทั้งสี่เหมือนเสาเรือน อดอาหารอยู่ ๗ วัน ไม่มีสัตว์ตัวไหนกล้าเดินมาใกล้บริเวณนั้นเลย ในวันที่แปด มี สุนัขจิ้งจอก ตัวหนึ่ง เที่ยวหาอาหารมาถึงบริเวณนั้นพอดี ครั้นเห็นราชสีห์ก็รีบทำท่าจะวิ่งหนี ราชสีห์รีบพูดปลอบสุนัขจิ้งจอกว่า
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๔ )
สำหรับตอนนี้ มีเรื่องในอดีตชาติของท่านอุรุเวลกัสสปะมาเล่าต่อจากครั้งที่แล้ว ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไม่ใช่เฉพาะในภพชาตินี้เท่านั้น ที่พระองค์ทำลายความเห็นผิดของท่านอุรุเวลกัสสปะ
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
เราจะเห็นว่า การได้อยู่ในปฏิรูปเทส เช่นพระวักกลินั้น เป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต เพราะท่านอยู่ในกรุงสาวัตถี ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดเชตวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่นานที่สุด จึงมีโอกาสได้เห็นพระพุทธองค์ เห็นแล้วก็มีความศรัทธาเลื่อมใส ได้บวชในบวรพระพุทธศาสนา ได้ฟังธรรม ฝึกฝนตนเอง จนในที่สุดได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม - ทําสิ่งแวดล้อมให้เป็นปฏิรูปเทส ( ๒ )
มีข้อที่น่าสังเกต คือ ไม่ ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหน ควรทำตัวให้เป็นที่รักของคนรอบข้าง พึงสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีกับทุกๆ คน เพราะการมีพรรคมีพวกจะทำให้เกิดความสะดวก ยามมีภัยหรือเกิดวิกฤติคับขัน จะได้มีผู้ช่วย ปกป้องคุ้มครอง หรืออย่างน้อย ก็เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ถือว่า เริ่มสร้างปฏิรูปเทสให้เกิดขึ้นแล้ว
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๓)
พระราชารู้สึกกลัวในกาเมสุมิจฉาจารที่พระองค์กำลัง จะล่วงละเมิด ทรงเริ่มเกิดความสังเวชสลดพระทัย และอยากจะช่วยเปรตให้เสวยสุข จึงตรัสถามว่า "ทำอย่างไรท่านจึงจะได้เครื่องนุ่งห่ม ขอจงบอกเราเถิด หากเราช่วยท่านได้ เราก็ยินดี และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ผลแห่งกรรมดีสามารถอุทิศให้ได้"
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - กัลยาณวาทะ
นิครนถ์นาฏบุตร เจ้าลัทธิเดียรถีย์ที่ไม่ชอบใจในพระบรมศาสดา เพราะศรัทธามหาชนของตนเองห่างเหินไป จึงแต่งปัญหาข้อหนึ่งเป็นโอวัฏฏิกสาระ คือปัญหาวนเวียน ไม่มีใครสามารถแก้ได้ ปัญหานี้นิครนถ์ใช้เวลา ๔ เดือน จึงคิดออก และยุให้อภัยราชกุมารเรียนปัญหานั้นจนแตกฉาน เพื่อจะได้ส่งไปโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - พระปัญญาบริสุทธิ์
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ต้องดำรงตนเป็นทูตสันติภาพได้ด้วย นอกจากจะมีปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมแล้ว ต้องไม่มีอคติความลำเอียง และต้องรู้จักแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง คอยประสานรอยร้าวเหมือนเป็นกาวใจ
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
การเลี้ยงลูกตามหลักพุทธศาสนานั้น ต้องเริ่ม ต้นที่พ่อแม่ คือพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก เราอยากได้ลูกที่มีคุณธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวที พ่อแม่ก็ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรมเหล่านั้นด้วยและทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง บุญในตัวของพ่อแม่จะดึงดูดให้ได้ลูกแก้วลูกผู้มีบุญที่เป็นยอดกตัญญู
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - คู่ทุกข์ - คู่ยาก
คุณธรรมอีกอย่างหนึ่งที่พึงมี คือ ทั้งคู่ต้องมีปัญญาเสมอกัน ตั้งแต่ใช้เหตุใช้ผล ใช้สติมากกว่าอารมณ์ ไม่ตามใจตนเองจนดื้อรั้นเกินไป มีความเห็นอกเห็นใจกัน ต้องพูดกันรู้เรื่อง มีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข ไม่นิ่งดูดายในปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ ชีวิตคู่จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีความสุข แม้ในยามที่มีภัย ชีวิตก็สละแทนกันได้